พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
85290 VIEWS | 5 MINS READ Tuesday 16 / 06 / 2020
เราว่าหลายๆคน ไม่ว่าทักษะภาษาอังกฤษจะอยู่ในระดับ Basic Intermediate หรือ Advanced ก็ต้องเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้จักกันบ้างเเหละ เเละสิ่งที่เรามักจะทำกันก็คือ ‘การเดา” ใช่ไหมล่ะ เเต่เราก็ต้องเดาอย่างมีหลักการ มีชั้นเชิง เเถมทริคนี้!! ยังช่วยลดจำนวนศัพท์ที่ต้องจำด้วยนะคะ เรามาดูที่ความหมายเเละสกิลของ Prefix ว่ามันทำไรได้บ้างก่อนค่ะ
Prefix คือ คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่น แล้วทำให้คำนั้นมีความหมายต่างไปจากเดิม ในภาษาไทยจะเรียกว่า “อุปสรรค” ซึ่ง Prefix ที่เรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือ 10 ตัวนี้ที่ Globish Pro จะเอามาเเนะนำ ไปดูกันเล้ย
Un-
ใช้เติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมาย “ตรงกันข้าม” เช่น
suitable เหมาะสม => unsuitable ไม่เหมาะสม
countable นับได้ => uncountable นับไม่ได้
Im-
ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เมื่อเติมแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมาย “ตรงกันข้าม” เช่น
pure บริสุทธิ์ => impure ไม่บริสุทธิ์
polite สุภาพ => impolite ไม่สุภาพ
In-
ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) เท่านั้น เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมาย “ตรงกันข้าม” เช่น
direct ตรง => indirect ไม่ตรง
expensive แพง => inexpensive ไม่แพง
Re-
ใช้สำหรับเติมหน้าคำกริยา (verb) หรือคำนามที่มาจากกริยาเท่านั้น เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายว่า “ทำอีก” เช่น
write เขียน => rewrite เขียนอีก / เขียนใหม่
speak พูด => respeak พูดอีก
Dis-
ใช้สำหรับเติมหน้ากริยา (verb) หรือเติมหน้าคุณศัพท์ (Adjective) และเมื่อเติมแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมาย “ตรงกันข้าม” เช่น
like ชอบ => dislike ไม่ชอบ
agree เห็นด้วย => disagree ไม่เห็นด้วย
Mis-
ใช้สำหรับนำหน้าหรือเติมหน้าคำกริยา (verb) เท่านั้น เมื่อเติมแล้วทำให้กริยาตัวนั้น มีความหมายว่า “กระทำผิด” เช่น
write เขียน => miswrite เขียนผิด
spell สะกด => misspell สะกดผิด
Pre-
ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม (Noun) หรือกริยา (verb) เมื่อเติมแล้วทำให้นามนั้นมีความหมายว่า “ก่อน , หรือทำก่อน” เช่น
history ประวัติศาสตร์ => prehistory ก่อนประวัติศาสตร์
university มหาวิทยาลัย => preuniversity ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
Tri-
ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม(Noun) และเมื่อเติม tri เข้าข้างหน้าแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมายว่า “สาม” ขึ้นมาทันที เช่น
angle เหลี่ยม กลายเป็น => triangle รูปสามเหลี่ยม
cycle จักรยาน กลายเป็น => tricycle รถสามล้อ
Bi-
ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม(Noun) และเมื่อเติม bi เข้าข้างหน้าแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมาย“สอง”ขึ้นมาทันที เช่น
cycle จักรยาน => bicycle จักรยานสองล้อ
polar ขั้วโลก => bipolar สองขั้วโลก
En-
Prefix ตัวนี้ไม่มีคำแปลเป็นเอกเทศ เพียงแต่ว่าเมื่อนำไปเติมข้างหน้าคำนาม (Noun) หรือคำคุณศัพท์ (Adjective) แล้วทำให้คำนั้นกลับเป็นกริยา (verb) ขึ้นมาทันที เช่น
camp ค่าย => encamp ตั้งค่าย
sure แน่ใจ => ensure รับประกัน
หากเรารู้ความหมายของ Prefix ในศัพท์คำใด ถึงเเม้เราจะไม่รู้ว่า เอ๊ะ คำนี้เเปลว่าอะไร เเต่เราก็พอจะเดาความหมายของศัพท์คำนั้น ๆ ได้ ลองเอาไปเล่นกันดู ขอให้สนุกกับภาษาอังกฤษนะคะ
Reference
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/66250/-blo-laneng-lan-
https://www.oxbridge.in.th/grammar-tips/prefix
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/66250/-blo-laneng-lan-