10 TIPS พรีเซ็นต์งาน"ภาษาอังกฤษ"สไตล์ Steve Jobs

32173 VIEWS | 5 MINS READ Thursday 01 / 03 / 2018


 

" What makes him a pro at presentation ? "

 

       สตีฟ จ็อบส์ สุดยอดอัจฉริยะผู้เปลี่ยนแปลงวงการเทคโนโลยีของโลก ผู้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะเวลาที่จ็อบส์ยืนอยู่บนเวทีเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ เราต่างก็มักจะได้ยินเสียงปรบมือ เสียงหัวเราะ ที่สร้างความว้าว! น่าประทับใจให้กับผู้ฟังเสมอ

       ส่วนหนึ่งของความว้าว! นั้น ไม่ได้มาจากตัวผลิตภัณฑ์อย่างเดียวเท่านั้น แต่มาจากการสื่อสารความคิดออกมาผ่านการนำเสนอให้กับผู้ฟังได้เข้าใจ ตรงประเด็น และมีวาทศิลป์ในการพูด ที่สามารถสะกดผู้ฟังให้จดจ่ออยู่กับเขาได้ 

        และต่อไปนี้ คือ 10 Tips เคล็ดลับการนำเสนอสไตล์สตีฟ จ็อบส์ ที่โลกนี้ต่างยกย่องว่าเป็นตัวอย่างของการนำเสนอที่ยอดเยี่ยม

  

 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

“Presentation go far beyond words. They connect you with people mentally and emotionally.”

 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

1.วางแผนก่อนนำเสนอเสมอ 

มีอยู่ 3 สิ่งหลัก ที่ผู้นำเสนอต้องคำนึงถึงอย่างมากนั้นก็คือ 

1. เรื่องราวที่นำเสนอ

2. ผู้ฟังคือใคร

3. รูปแบบการนำเสนอ

 

        1.1 เรื่องราวที่นำเสนอ: คิดอยู่เสมอว่าเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอนั้นคือเรื่องอะไร ต้องการพูดถึงประเด็นไหน รายละเอียดสำคัญคืออะไร เริ่มจากการกำหนดหัวข้อที่จดจำได้ง่าย สั้นกระชับและครอบคลุมอยู่เสมอ สั้นพอที่สามารถโพสต์ลงใน twitter ได้ (140 อักษร)

         ตัวอย่าง - ในงานเปิดตัว iPhone ในปี 200 จ็อบส์เปิดตัวด้วยหัวข้อ “Your life in your pocket” ในความหมายที่ว่า iPhone มีคุณสมบัติมากมายที่ครอบคลุมความต้องการทางสังคมของคุณได้

        1.2 นำเสนอให้ใครฟัง: ส่วนสำคัญที่คอยกำหนดรูปแบบภาษา และลำดับของเรื่องราวที่ใช้ในการนำเสนอ

         ตัวอย่าง - การนำเสนอแผนการตลาดกับหัวหน้าชาวต่างชาติ ควรเลือกใช้คำที่สุภาพ หรือเป็นทางการ ขึ้นอยู่กับระดับของคนที่ฟัง และหลีกเลี่ยงการตอบด้วยคำสั้น ห้วน

         1.3 รูปแบบการนำเสนอ: การตรวจเช็คสไลด์ และอุปกรณ์ที่ใช้นำเสนอนั้นสำคัญมาก เพื่อป้องกันความผิดพลาด และในรูปแบบของสไลด์ควรเป็นธีมเดียวกันทั้งหมด ถ้าจะใช้            ภาษาอังกฤษก็ต้องภาษาอังกฤษทั้งหมด และพยายามใช้คำที่ให้ความรู้สึกในเชิงบวกมากขึ้น 

         ตัวอย่าง - จ็อบส์มักใช้คำศัพท์ที่ให้ความรู้สึกมีพลัง เพื่อขยายเรื่องราวและให้เข้าใจง่าย ที่ช่วยให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมได้ง่ายขึ้น เช่น awesome, cool, great 

 

2. เรื่องราวที่น่าสนใจ

       จ็อบส์เล่าว่า เขามักหาตัวอย่างที่ผู้ฟังรู้จักกันทั่วไปที่สามารถเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่นำเสนอได้ เช่น การพูดถึงผลิตภัณฑ์ของ Apple เขาก็เล่าถึงสถานการณ์หนึ่งในร้านกาแฟว่า “I was sitting in this cafe using iPad and noticed this girl totally checking me out”

       โดยจ็อบจะคำนึงถึงผู้ฟังอยู่เสมอว่า ผู้ฟังอยากรู้อะไร และนำเสนอให้ตรงประเด็น ให้สั้นกระชับที่สุด เช่น การบอกว่า “Shot on iPhone 6s” บนป้ายโฆษณา ในขณะที่แบรนด์อื่นบอกสรรพคุณเยอะแยะมากมาย แต่ในมุมของลูกค้าต้องการรู้แค่ว่ามือถือเครื่องนี้ถ่ายรูปสวยหรือไม่ ไม่ได้สนใจในเรื่องของรายละเอียดอะไรมากนัก เพียงใช้ข้อความที่น้อยแต่ให้แฝงไปด้วยความรู้สึกว่ารูปสวยนี้เกิดขึ้นจาก iPhone นะ

 

Cr.dailybillboardblog.com 

       เช่นเดียวกับการนำเสนอ ไม่ว่าหัวข้อ หรือเรื่องราวจะยืดยาวแค่ไหน ก็สามารถใช้คำที่น้อยลง เพื่อเจาะไปที่ประเด็นสำคัญ ที่สามารถช่วยโน้มน้าวผู้ฟังให้มีอารมณ์ร่วม และเป็นการสรุปเรื่องราวไปในตัวอีกด้วย

ตัวอย่าง 

       “Music, calls and internet.” – ประโยคที่ใช้เปิดตัว iPhone

       “Thousand songs in your pocket.” – ประโยคที่ใช้เปิดตัว iPod.

       “Touch your music.” – ประโยคที่ใช้เปิดตัว iPod touch.

       “The world’s thinnest notebook.” – ประโยคที่ใช้เปิดตัว MacBook Air.

 

3. ทำการบ้านเพื่อเตรียมความพร้อม

       จุดประสงค์หลัก ของการทำการบ้านคือการทบทวนในเนื้อหาของการนำเสนอ และเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้นำเสนอ เพื่อให้การนำเสนอออกมาดีที่สุด ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้เสมอ

       - ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด และเป้าหมายของการนำเสนอ

       - ประเด็นสำคัญคืออะไร และนำเสนอให้ใครฟัง

       - รูปแบบการนำเสนอในแต่ละส่วนจนถึงส่วนบทสรุป

       - คาดการณ์คำถามที่จะเกิดขึ้นและเตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้า

       - ซ้อมพูดให้มั่นใจ และให้ทันเวลาที่กำหนด

       - ตรวจเช็คและเตรียมสไลด์ให้พร้อม 

       - หารูป หรือวีดีโอประกอบการนำเสนอเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

        แต่ในการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษจะต้องเตรียมความพร้อมมากขึ้นกว่าเดิม หากไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษของตัวเอง ทั้งการใช้คำศัพท์ รูปประโยค และแกรมม่าต่าง ซึ่งทาง Globish ก็มีฟรี Workshop ในหัวข้อ

 

พรีเซนต์งานภาษาอังกฤษยังไงให้ปัง!”

ลงทะเบียนได้ที่นี่: https://goo.gl/DpPWNd 

 

4. แนะนำตัว และเปิดเรื่องให้น่าสนใจ

       First impression เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากคุณเริ่มต้นการนำเสนอได้ไม่น่าสนใจ อาจส่งผลให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อ และไม่ได้ตั้งใจในสิ่งที่คุณนำเสนออยู่ได้ โดยปกติแล้วเกิดเปิดตัวให้น่าสนใจที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 อย่าง คือ

       1. What When Where Why ? - การเริ่มต้นด้วยตั้งคำถาม ซึ่งวิธีจะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วมไปด้วย เช่น ทำไมพวกเราต้องซื้อหุ้นที่บริษัทนี้ ? หรือ คุณลงทุนครั้งล่าสุดเมื่อ          ไหร่ ? 

       2. Story Telling - การเปิดเรื่องด้วยเรื่องราว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถเริ่มต้นการนำเสนอและแนะนำตัวไปพร้อมกันได้ เช่น ฉันได้มีโอกาสเข้าไปในห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล ในขณะที่ผู้บาดเจ็บกำลังสลบ ฉันรู้สึกอย่างหนึ่งขึ้นมาได้ จึงได้ตัดสินใจบอกนางพยาบาลข้าง ไปว่าช่วยหยิบมีดให้ฉันที 

        จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ามีการเปิดเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าติดตาม รวมถึงการบอกอาชีพของผู้นำเสนอได้อย่างเนียน ไม่ต้องเสียเวลามาแนะนำตัว

 

5. การใส่ตัวเลข และภาพให้เข้าใจง่าย

       หลายคนในที่นี้ต้องเคยใส่ตัวเลขในการนำเสนอแน่นอน ไม่ว่าจะจะสถิติ รายรับรายจ่าย หรืออะไรก็ตาม หากใส่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้ผู้ฟังสับสนได้ เช่น จ็อบส์เคยนำเสนอยอดดาวน์โหลดของ iTunes 

โดยการใช้ข้อความว่า 

     A: “มีการดาวน์โหลดเพลงจาก iTunes ทุก 15,000 เพลง

     แทนข้อความ 

     B: “มีการดาวน์โหลดเพลงจาก iTunes จำนวน 25 พันล้านเพลง

จะเห็นได้ว่าข้อความในข้อ A อ่านและเข้าใจกว่า และช่วยเจาะจงประเด็นที่ต้องการสื่อสารได้ชัดเจนขึ้น

     ส่วนการใส่ภาพ ควรใส่รูปภาพที่น่าสนใจ และตรงกับประเด็นที่ต้องการนำเสนอเพียง 1-2 รูปต่อสไลด์หนึ่งหน้า โดยการใส่รูปที่แนะนำหลัก มี 2 แบบ คือ

  1. ใส่รูปเต็มหน้าสไลด์ ไม่มีข้อความ สื่อสารผ่านรูปภาพ 
  2. ใส่รูปขนาดใหญ่ประมาณ 70 - 90% เพื่อให้มีพื้นเหลือให้ใส่ข้อความ (ข้อความไม่ควรใส่ขนาดใหญ่และมากเกินไป)

 

6. การใช้ตัวอักษร

       อย่างแรกที่ควรคำนึงถึงคือ การใส่ตัวอักษรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการใส่ตัวอักษรเยอะทำให้สไลด์นั้นดูรก และอาจดึงความสนใจของผู้ฟังให้อ่านมากกว่า และหากให้ลองเปลี่ยนข้อความประโยคให้เป็นภาษาอังกฤษจะช่วยให้สไลด์ดูดีขึ้น โดยจ็อบส์มักจะใช้ตัวอักษรกับหัวข้อ หรือประโยคสั้น ตรงประเด็นที่อยากจะสื่อสาร และใช้ตัวอักษรไม่เกิด 4 จุดใน 1 สไลด์

 

7. ลำดับการนำเสนอ  

      สิ่งที่แสดงออกของผู้ฟังช่วยการันตีได้ว่า การนำเสนอนั้นเป็นที่น่าพอใจหรือไหม เช่นเดียวกับตอนที่จ็อบเปิดตัว Macbook Air ที่ระหว่างนำเสนอ ทีมงานได้ยื่นซองจดหมายมาให้ แล้วเปิดออกมาเป็น Macbook Air ซึ่งสร้างความประหลาดใจเป็นอย่างมาก 

Cr.digitday.com

 เบื้องหลังวิธีการนำเสนอที่น่าทึ่งนี้คือ ?

  • การทำความเข้าใจในเนื้อหาให้มาก
  • หลงใหลหรือตั้งใจในงานทุกชิ้น
ค้นหาคอร์สที่เหมาะกับคุณ
พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี


   หรือ    โทรเลย 02-026-6683

บทความที่แนะนำ


วัยทำงาน

30 ความท้าทาย ทลายกรอบ! สู่ความสำเร็จในการทำงาน

Tips and Tricks

5 เทคนิค อ่านภาษาอังกฤษให้เข้าใจเร็วขึ้น!

วัยทำงาน

10 คำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ