รวมบทความเกี่ยวกับเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน
เชื่อว่า เวลาที่ทุกคนป่วย ก็ต้องมานั่งหาในกูเกิ้ลละ ปวดท้อง ปวดหัว ไมเกรน ท้องเสีย ภาษาอังกฤษเขียนยังไง ก็เพราะต้องเอาไปเขียนใบลา หรือ เข้าสายก็ต้องเตรียมคำตอบไว้ตอบหัวหน้า ส่วนใหญ่เค้าก็จะถามว่า “What’s the problem?” (วอทซฺ เดอะ พร็อบเบล็ม) หรือ “What’s wrong?” (วอทซฺ วรอง) เเปลว่า คุณเป็นอะไรมั้ย มีปัญหาอะไรหรือเปล่า อะไรประมาณนี้ วันนี้เเอดจะมาเเบ่งเบาความทุกข์ ให้ไปทรมานกับอาการเจ็บป่วยอย่างเดียวพอ กับ 4 โครงสร้าง จำง่าย เอาไปใช้ได้เลย
Grammar–translation Method (GTM) เป็นการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน ด้านการเขียน รวมถึงด้านหลักไวยกรณ์ไปพร้อม ๆ กัน โดยหลักทฤษฎีการสอนนี้ถูกนำมาใช้ตั่งแต่สมัย ค.ศ. 1800 - ค.ศ. 1960 หรือที่เรียกได้ว่าเป็นยุคเริ่มแรกของการฝึกภาษา ซึ่งในสมัยนั้นนิยมใช้ในการสอนภาษากรีกกับภาษาละติน และในปัจจุบันก็ยังมีการนำมาปรับใช้กับการสอนอยู่เช่นกัน
จริงๆ เเล้ว สำนวนก็เป็นสิ่งที่เราควรศึกษาไว้ เพราะถ้าเราไม่รู้ว่า สิ่งที่เค้าพูดออกมานั้นคือ ‘สำนวน’ เเต่เราดัน ไปเเปลตรงตัวนี่อาจขำกลิ้งได้เลยนะคะ เพราะความหมายมันคนละอย่างเลย เพราะก่อนที่เราจะคุยกันถูกคอได้นั้นเราก็ต้องรู้ก่อนว่าเค้าพูออะไร เราตอบอะไร ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันสะหน่อย ยิ่งถ้าเราต้องทำงานเป็นทีมกับเพื่อนต่างชาตินี่ต้องเอาไปใช้เลยล่ะ
ปัญหาหนึ่งของคนไทยในการใช้ภาษาอังกฤษคือการใช้ Adjective หรือคำคุณศัพท์ผิด เพราะมักจะสับสนอยู่ตลอด โดยเฉพาะ Adjective “-ed” และ “-ing” ซึ่งทำให้เราพลาดท่าสื่อสารออกมาผิดความหมายอยู่เรื่อยๆแต่ไม่รู้ตัว วันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่ามีวิธีเช็คยังไงบ้าง เพื่อให้สื่อสารถูกต้อง ฝรั่งร้อง อ๋อ!
เพื่อนๆเคยมีปัญหาจะพูดภาษาอังกฤษแต่จำคำศัพท์ไม่ได้ มันติดอยู่ที่หัวมั้ยคะ แอดก็เป็นคนนึงเชื่อว่าภาษาอังกฤษเนี่ยถ้าเรายิ่งท่องศัพท์เยอะๆก็จะยิ่งเก่ง โดยเราสามารถเก็บคำศัพท์ทีละเล็กทีละน้อยไปเรื่อยๆ หรือถ้ามีเวลาว่างก็ลองทายคำศัพท์กับตัวเองหรือคนอื่นดูเล่นๆ ซึ่งวันนี้แอดเองก็รวบรวมคำศัพท์กว่า 90 คำที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวัยทำงานมากฝากกันด้วยค่ะ ไปดูกันเลย
เรามักเจอปัญหาอ่านศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ออก เขียนไม่ได้ หรือฟังออกนะ เเอบจดไว้ก่อนเเต่ก็เขียนผิด เเละไม่รู้ว่าออกเสียงยังไง เอาจริงๆเราคงจำได้ไม่หมด ยิ่งในยุคที่ไม่รู้อะไรก็ serch google หรือ search dictionary เอา ก็เลยทำให้เราขาดความเข้าใจ เเละเสพติดอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ณ จุดๆนี้เราต้องเรียนรู้ที่จะเพิ่งตัวเองกันเเล้วค่ะ จะได้เลิกพูดว่า คำนี้อ่านไงนะ? คำนี้เขียนไงนะ? กันซักที
เคยมั้ยคะ เวลาฟังการประชุมงานแล้วใครพรีเซนต์อะไรแล้วรู้สึกเหมือนโดนสะกดจิต ทุกอย่างฟังดูน่าสนใจจนต้องฟังไม่ให้พลาดซักนาทีเดียว เขาทำยังไงให้คนอื่นยอมฟังสิ่งที่จะพูดกันนะ? เรามาลองดู 10 ข้อที่รวบรวมมาเพื่อให้การพรีเซนต์ของเราเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวกันค่ะ